สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงชินวราลงกรณ มีพระนามเดิมว่า มัทรี
นิลประภา ภายหลังเปลี่ยนพระนามเป็น วาสน์
ประสูติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๐
เวลา ๑๙.๓๓ น. ที่ ตำบลบ่อโพง
อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เป็นบุตรคนโตของพระชนกผาด และพระชนนีบาง
นิลประภาพระองค์ได้บรรพชา เมื่อวันที่ ๒๒
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ณ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
เมื่อดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยมุนี (แปลก
วุฑฺฒิญาโณ) เป็นพระศีลาจารย์
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นพระอุปัชฌาย์
พระวินัยมุนี (แปลก วุฑฺฒิญาโณ)
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระญาณดิลก (รอด
วราสโย) วัดเสนาสนาราม พระนครศรีอยุธยา
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า
"วาสโน"สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(วาสน์ วาสโน)
สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคปับผาสะอักเสบ
พระหทัยวาย ณ โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เวลา
๑๖:๕๐ น. สิริพระชันษา ๙๑ ปี ๑๗๘ วัน
สำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศถวายความอาลัยโดยให้สถานราชการทุกแห่งลดธงลงครึ่งเสาเป็นเวลา
๓ วัน และข้าราชการไว้ทุกข์เป็นเวลา ๑๕
วัน
ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันเสาร์ที่
๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ณ
พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสถาปนาพระอัฐิของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(วาสน์ วาสโน)
ในฐานะพระราชอุปัธยาจารย์เมื่อครั้งทรงผนวช
ขึ้นเป็น "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงชินวราลงกรณ" ในการนี้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานจัดฉัตรตาดเหลือง
๕ ชั้น
ถวายกางกั้นพระรูปบรรจุพระสรีรางคาร ณ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แบ่งพระอัฐิบรรจุลงพระโกศทองคำ
เชิญมาประดิษฐานในหอพระนาก
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายในพระฐานะพระบุพการีทางธรรมสืบไป
แหล่งที่มา - ราชกิจจานุเบกษา,
พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง
สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า, เล่ม ๑๓๖,
ตอนที่ ๔๐ ข, ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า
๑ กลุ่ม พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์
ทั่วสังฆมณฑล