พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เสด็จดำรงพระยศเป็น
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ทรงเป็นแม่ทัพตีได้เมืองเวียงจันทน์
และได้เชิญพระแก้วมรกตลงมายังกรุงธนบุรี
โดยพระเจ้ากรุงธนบุรี
ทรงอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ยังวัดอรุณราชวราราม
และมีพิธีสมโพช ๓ วัน
ต่อมา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน
พ.ศ. ๒๓๒๕ จึงได้ทรงสร้างพระบรมมหาราชวัง
รวมทั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โดยใช้เวลาทั้งสิ้น ๒ ปี
เมื่อพระอุโบสถสร้างเสร็จ จึงโปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญ พระแก้วมรกต
ที่ประดิษฐานอยู่วัดอรุณฯ ในเวลานั้น
มาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม
พ.ศ.๒๓๒๗
พระแก้วมรกต
เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองไทย
และมีความสำคัญ โดยเมื่อครั้งที่
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร
ได้พระราชทานนามพระนครใหม่ให้
ต้องกับพระแก้วมรกตว่า
‘กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์
มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ
นพรัตนราชธานีบูรีรมย์
อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต
สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์’
ซึ่งแปลโดยย่อได้ว่า เป็น
‘เมืองเทวดาที่มีพระแก้วมรกตเป็นหลักชัย’
นอกจากนี้
ที่มาของคำว่า กรุงรัตนโกสินทร์
เกิดจากคำว่า รัตน์+โกสินทร์ โดย รัตนะ
แปลว่า แก้ว ส่วน โกสินทร์ แปลว่า สีเขียว
กรุงรัตนโกสินทร์ ก็คือ กรุงแก้วสีเขียว
ซึ่งก็คือ เมืองแห่งพระแก้วมรกต
นั่นเอง
กว่า ๒๓๗ ปี
นับจากอดีตสู่ปัจจุบัน
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ยังคงประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองไทยมายาวนาน
เสมือนเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว
และสัญลักษณ์แห่งความดีงาม
ที่คนไทยทุกหมู่เหล่า
เดินทางมากราบไหว้สักการะกันอยู่เสมอ
แหล่งที่มา
– www.thestatestimes.com
ขอบคุณภาพจาก
- www.bltbangkok.com
ภาพโดย
- นายเอกลักษณ์ สุริยะญาติ