หน้าหลัก > ข่าว > เกร็ดความรู้ > ๑ เมษายน ๒๔๔๘ - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเลิกทาสในประเทศไทย
๑ เมษายน ๒๔๔๘ - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเลิกทาสในประเทศไทย

ผู้ดูแลเว็บ สำนักศิลปวัฒนธรรม
2022-04-04 10:04:46


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ประเทศไทยมีพัฒนาการในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการคมนาคม การศึกษา สังคม และวัฒนธรรม หนึ่งในพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งของพระองค์ คือ การเลิกทาสและการเลิกไพร่ อันเป็นการยกเลิกระบบที่คนชั้นสูงตั้งขึ้น เพื่อกดขี่ราษฎรให้ทำงานรับใช้หรือส่งทรัพย์สินให้ โดยไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด 

พระองค์ทรงใช้พระปรีชาสามารถค่อย ๆ ปรับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับทาสและไพร่เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างราบรื่น 

๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศ “พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย” แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ ๘ ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็นต้นมา และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า ๒๐ ปีเป็นทาสอีก 

๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศใช้ “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔” และ “พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔”  ถือเป็นการเลิกระบบทาสและระบบไพร่ในสยามประเทศ โดยในส่วนของทาสนั้น “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔” ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไท ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ ๔ บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก 

แหล่งที่มา – www.thestandard.com 

ขอบคุณภาพจาก – เอกบุรุษ สุดขอบฟ้า พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จ.นครปฐม 

ภาพโดย - นายเอกลักษณ์ สุริยะญาติ