พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
ประสูติ
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๒
สิ้นพระชนม์
วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๐๖ สิริพระชันษาได้ ๗๔
ปี
พระคุณสมบัติพิเศษ
โปรดเสด็จประพาสป่าและการเลี้ยงสัตว์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภาเป็นพระราชธิดาลำดับที่
๖๕
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระองค์ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาอ่อน
มีพระเชษฐภคินี คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ
ประสูติในพระบรมมหาราชวัง
ตำหนักอยู่ใกล้ประตูพรหมโสภาเป็นอาคารทรงยุโรป
๒ ชั้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานให้เป็นที่ประทับของพระราชธิดาทั้ง
๒
พระองค์และพระญาติเจ้าจอมก๊กออ
ในขณะทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารีตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
ทรงศึกษาภาษาไทยชั้นต้นกับพระยาอิศรพันธุ์โสภณ
(ม.ร.ว. หนู อิศรางกูร)
ต่อมาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ
ได้ทรงขอครูมีจากโรงเรียนสุนันทาลัยมาถวายสอนภาษาอังกฤษและสอนหัดเต้นรำด้วยภายหลังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้หม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล
มาสอนถวายแทนครูมีที่ถึงแก่กรรม
ในปีพุทธศักราช
๒๔๔๒ ขณะมีพระชันษาได้ ๑๑
ขวบได้ทรงเข้าพระราชพิธีโสกันต์ตามขัตติยราชประเพณีในปีนั้น
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดขึ้นเป็นกรณีพิเศษ ณ
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์กลางมีเจ้านายทรงเข้าโสกันต์พร้อมกัน
๓ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปา
พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
และพระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา
รวมอยู่ด้วยซึ่งล้วนเป็นเจ้านายที่เคยประทับในสวนสุนันทา
สมเด็จพระบรมราชชนก
พระราชทานพระมหาสังข์ทรงจรดพระกรรไกรกระบิดผู้ตัดจุกเป็นเจ้านายชั้นพระบรมวงศ์
คือ สมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์สมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช
เสด็จกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
เสด็จกรมพระนเรศวรฤทธิ์และสมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
หลังจากที่ล้นเกล้าฯ
รัชกาลที่ ๕
เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสยุโรปในปีพุทธศักราช
๒๔๔๐
ได้ทรงซื้อที่ดินเพื่อสร้างสวนดุสิตในระยะแรกทรงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพลับพลาชั้นเดียวเป็นที่ประทับชั่วคราวจนแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช
๒๔๔๒ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยภา
และพระเชษฐภคินีได้ทรงย้ายที่ประทับพร้อมด้วยเจ้าจอมมารดาจากวังหลวงมายังวังสวนดุสิต
พระที่นั่งวิมานเมฆ
และที่สวนพุดตาลโดยลำดับก่อนที่จะเสด็จไปประทับที่สวนสุนันทาในเวลาต่อมา
ในระหว่างประทับที่วังสวนดุสิตนั้น
พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภาทรงสำราญกับงานรื่นเริงต่างๆ
เช่น
งานขึ้นปีใหม่จะมีการเล่นในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร
มีการจับสลากเพื่อแต่งแฟนซีประกวดประชันกันทุกปีมีอยู่ปีหนึ่งพระองค์ทรงจับสลากถูกให้แต่งเป็นชุดนายทหาร
ผู้แต่งแฟนซีทุกคนต้องมีบ่าวแต่งแฟนซีในชุดที่เหมือน
ๆ กันด้วย
พระเจ้าอยู่หัวทรงจับสลากให้ทรงฉลองพระองค์ชุดนายทหารเรือ
ส่วนเจ้าจอมก๊กออแต่ละท่านก็ถูกแต่งให้เป็นขุนนางเก่า
นายตำรวจ
หรือเป็นชาวพม่าโดยมีคณะกรรมการตัดสินให้คะแนนชุดแฟนซีแต่ละชุด
นอกจากนี้บรรดาเจ้านายและขุนนางข้าราชการกำลังเห่อเล่นกล้องถ่ายรูปกันตามพระราชนิยมของพระพุทธเจ้าหลวง
โดยเริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๔๗
เป็นต้นมา
ซึ่งในปีนั้นมีงานรื่นเริงซ้อนกันหลายงาน
สร้างความสำราญให้แก่เจ้านายทุกพระองค์
เช่น งานขึ้นปีใหม่ เสด็จประพาสต้น
งานออกร้านประจำปีในวัดเบญจมบพิตร
ในหลวงทรงโปรดเกล้าฯ
ให้เปิดเป็นร้านถ่ายรูป
ทรงถ่ายให้ตามที่ร้องขอ
ทรงเกณฑ์เจ้านายมาช่วยงาน เช่น
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภาและพระเชษฐภคินีทรงทำหน้าที่ล้างและอัดรูป
นอกจากนี้พระองค์ยังได้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดชื่อภาพ
“สวนสวรรค์”
ปรากฏว่าทรงได้รับรางวัลเหรียญทองแดงเป็นที่ปลื้มปิติมาก
พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภาเป็นพระราชธิดาที่โปรดปรานมากพระองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้าหลวงดังจะเห็นได้จากเมื่อครั้งโสกันต์
สมเด็จพระบรมราชชนกทรงจัดให้เป็นกรณีพิเศษ
หรือเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสยุโรป
ทรงได้รับพระราชทานสร้อยพระกรมีพระปรมาภิไธยประดับเพชรพระธำมรงค์
๑ วงและหีบหมากเสวย ๑ ใบ
นอกจากนี้ภายหลังเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสยุโรป
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดประทับ ณ
พระที่นั่งอัมพรสถาน
บรรดาพระเจ้าลูกเธอไม่ค่อยมีโอกาสเสด็จเข้าเฝ้าฯ
เสวยเพราะโปรดประทับเสวยข้างบน
แต่ที่โปรดให้เข้าเฝ้าฯ
ประจำเป็นบางพระองค์เท่านั้น เช่น
ทูลกระหม่อมหญิงสุทธาทิพย์ฯ
สมเด็จเจ้าฟ้านิภาฯ สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีฯ
พระองค์เจ้าอรประพันธ์ฯ
และพระองค์เจ้าอดิศัยฯ รวมอยู่ด้วย
ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๑
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้ทำพิธีกวนข้าวทิพยปายาส ๓ กระทะ
ทรงเกณฑ์พระราชธิดาโปรดเป็นพิเศษจำนวน ๖
พระองค์
ทรงทำหน้าที่กวนข้าวทิพย์ต้องฉลองพระองค์สีขาว
ทรงสะพักแพรขาว
ประกอบด้วยทูลกระหม่อมหญิงสุทธาทิพย์ฯ
คู่กับทูลกระหม่อมหญิงวไลยฯ ๑ กระทะ
สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีฯ
คู่กับสมเด็จเจ้าฟ้านิภาฯ ๑ กระทะ
และพระองค์เจ้าอรประพันธ์ฯ
คู่กับพระองค์เจ้าอดิศัยฯ ๑ กระทะ
นอกจากนี้ในตอนปลายรัชกาลได้ตามเสด็จฯ
พระบรมราชชนกประพาสเมืองเพชรบุรีหลายครั้งเนื่องจากมีพระราชดำริจะสร้างพระที่นั่ง
“ศรเพชรปราสาท”
ที่ตำบลบ้านปืนและในที่สุดก็ได้ทรงก่อฐานรากสำเร็จเมื่อพุทธศักราช
9 ๒๔๕๒ ตอนปลายรัชกาล
หลังจากสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต
พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา พระเชษฐภคินี
และเจ้าจอมมารดา
ยังคงประทับและพำนักที่สวนพุดตานในวังสวนดุสิต
ตราบจนกระทั่งการก่อสร้างพระที่นั่งและพระตำหนักต่าง
ๆ
ในสวนสุนันทาได้สร้างแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช
๒๔๖๒
หลังจากนั้นได้ทรงย้ายมาประทับที่สวนสุนันทาในตำหนักเดียวกัน
ส่วนเจ้าจอมมารดาได้พำนักอยู่ใกล้ ๆ
แยกเรือนต่างหากตราบจนกระทั่งก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองพุทธศักราช
๒๔๗๕
ในขณะที่ทั้งสองพระองค์เสด็จประพาสชายหาดชะอำ
เมื่อทรงทราบว่าได้เกิดปฏิวัติ
ทรงเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย
จึงตัดสินพระทัยไม่เสด็จกลับไปสวนสุนันทาอีกเลย
และต่อมาได้เสด็จประทับ ณ
วังสวนปาริจฉัตก์ ที่สวนนอกบริเวณถนนพิชัย
ซึ่งเป็นที่ดินได้รับพระราชทานจากพระบรมราชชนก
และได้ประทับต่อมาตราบจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่วังนั้น
ส่วนตำหนักเดิมที่เคยประทับในสวนสุนันทาปัจจุบันได้รื้อไปแล้วเนื่องจากถูกสะเก็ดระเบิดเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ๗๕ ปี
สวนสุนันทา
ภาพ : ดวงพร
ตรีภพศรีสกุล