พระวิมาดาเธอฯ
ประสูติในราชสกุลวงศ์
จึงทรงได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดีตามแบบอย่างกุลสตรีในยุคสมัยนั้น
เมื่อทรงเจริญพระวัยและได้รับการสถาปนาเป็นพระอัครชายาเธอ
ได้ทรงพัฒนารูปแบบการประกอบอาหารและงานประดิษฐ์ต่างๆ
ให้หลากหลายและวิจิตรบรรจงมากขึ้น
.
พระวิมาดาเธอฯ
ทรงพระปรีชาสามารถในด้านการปรุงอาหารเป็นหนึ่งจนได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น
“เอตทัคคะทาง
ด้านการทำกับข้าว”
และได้ทรงรับราชการฉลองพระเดชพระคุณ
ในหน้าที่กำกับดูแลห้องเครื่องต้นถวายพระพุทธเจ้าหลวงตราบจนสิ้นรัชกาล
.
ในการดูแลห้องเครื่องต้น
พระวิมาดาเธอฯ
ได้ฝึกให้หม่อมเจ้าหญิงลูกๆหลานๆ
มีหน้าที่ในห้องพระเครื่องต้นไทย
แบ่งฝ่ายกันดูแผนกยำ แผนกคาวหวาน แยกกันไป
พะวิมาดาเธอฯ ได้ปรุงแต่งรสชาติ
ค้นคิดและดัดแปลงชนิดของพระกระยาหารให้มีความหลากหลาย
รวมทั้งการจัดแต่งให้สวยงามเมื่อจะเทียบโต๊ะเสวย
.
พระกระยาหารที่ทรงทำถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นั้นพระอัครชายาเธอ
พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
กรมขุนสุทธาสินีนาฏ
ทรงทำสนองพระยุคลบาทด้วยความจงรักภักดี
เช่นเดียวกับที่ทรงทำถวายพระโอรสและพระธิดา
สำหรับพระองค์เองแล้วอย่างไรก็เสวยได้
เล่ากันว่า เมื่อคราวหนึ่งทรงซื้อเงาะ ๑๐๐
ผล ราคา ๑๐๐ บาท
เพื่อที่จะคว้านเงาะตั้งเครื่องเสวยให้สมเด็จพระธิดาทุกพระองค์
ส่วนเครื่องเสวยของพระองค์เองไม่โปรดให้มีเงาะผลละ
๑ บาท เพราะแพงเกินไป ทรงรับสั่งว่า
"
ขอให้ลูกให้ผัวสุขสบายก็เป็นที่พอใจแล้ว
" พระกระยาหารก็เหมือนกัน
ข้าวเสวยของพระองค์เองโปรดอย่างข้าวกรากร่วงพรู
( ข้าวธรรมดา )
ส่วนพระกระยาหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และข้าวเสวยของสมเด็จพระธิดาทุกพระองค์
นุ่มเหมือนกันหมด
ผลไม้ก็โปรดที่จะปอกเสวยเอง
ไม่ต้องคว้านเหมือนกับอย่างเครื่องต้น
จนเมื่อทรงพระชราจึงทรงให้คนอื่นปอกถวายและเงาะก็เปลี่ยนมาเป็นการคว้าน
.
ทรงพิถีพิถันในเรื่องเครื่องต้นที่จะตั้งถวาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นอย่างยิ่ง ต้องทั้งสะอาด ปลอดภัย
สวยงาม และมีรสชาติที่อร่อยด้วย
ทรงระวังรอบคอบแม้ในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย
ๆ เช่น ทรงจัดผลไม้ทั้งผลลงในภาชนะ
ถ้าจะต้องใช้ใบไม้รอง
จะทรงเลือกใบไม้หรือดอกไม้ที่ทานได้ เช่น
ใบเล็บครุฑ ใบมะม่วง ใบชมพู่
เพราะว่าในใบไม้บางชนิดอาจมียางหรือสิ่งที่เป็นพิษแก่มนุษย์ที่จะเข้าไปโดยไม่ทันรู้สึกตัว
จึงทรงงดเว้นโดยเด็ดขาด
.
พระอัครชายาเธอ
พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
กรมขุนสุทธาสินีนาฏ
ทรงกำกับห้องพระเครื่องต้น
ทรงทำที่ในพระบรมมหาราชวัง
และที่พระราชวังสวนดุสิต
เมื่อช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่พระราชวังสวนดุสิตเกือบจะเป็นการถาวร
ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า พระอัครชายาเธอ
พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ได้สนองพระเดชพระคุณ
ตลอดแผ่นดินจนสิ้นรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หั
พระวิมาดาเธอ
พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราช ปดิวรัดา
ทรงเป็นผู้เข้มงวดและเคร่งครัดในการทำงานเป็นยิ่งนัก
ข้าหลวงทุกคนมีงานทำทั้งวัน
ได้มีการกล่าวถึงพระวิมาดาเธอ ฯ ว่า
“ท่านละเอียดมาก มีงานวันยังค่ำ
ท่านหาเรื่องทำของท่านไป
แต่เวลาไปโรงเรียน เราก็ต้องไป
กลับมาก็มีเรื่องทำ ท่านไม่ให้อยู่เฉยเลย
เพราะว่าท่านไม่บรรทมกลางวัน
หาเรื่องทำแต่งานข้าหลวงเยอะ
รื้อนั่นทำนี่
มหาดเล็กเข้าออกได้เช่นมาทำความสะอาด
รื้อยกข้าวของประเภทงานหนักๆ
สิ่งที่ทำเป็นประจำทุกวัน คือ ร้อยมาลัย
ร้อยดอกไม้ทุกวัน
เพราะสวนสุนันทามีดอกไม้มาก”
.
พระวิมาดาเธอฯ
จะทรงควบคุมชี้แนะให้ข้าหลวงจัดดอกไม้
ร้อยมาลัยได้อย่างสวยงาม
จนปรากฏว่าบรรดาข้าหลวงในพระตำหนักพระวิมาดาเธอฯ
ได้รับหน้าที่ร้อยมาลัยสำหรับพระราชพิธีในวังหลวงเป็นประจำ
เช่น พวงมาลัยพระแสง มีมากมายหลายพวง
ระย้าใหญ่ๆ อุบะ หรือเย็บแบบ ฯลฯ