อาคารอาทรทิพยนิวาสน์ :
ทัศนศิลป์ แหล่งการเรียนรู้ ๓ ศิลป์รัตนโกสินทร์
"งานด้านการศึกษาศิลปวัฒนธรรมนั้น
คือ
งานสร้างสรรค์ความเจริญทางปัญญาและทางจิตใจซึ่งเป็นทั้งต้นเหตุ
ทั้งองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของความเจริญด้านอื่นๆ
ทั้งหมด
และเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เรารักษาและดํารงความเป็นไทย
ได้สืบไป" พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร
ณ วังท่าพระ วันที่ ๑๒
ตุลาคม ๒๕๑๓
งานศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ล้วนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป
ในแต่ละยุคสมัย
นอกจากจะเป็นพระราชนิยมส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์แล้ว
การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการผสมผสานงานศิลป์
ซึ่งผลงานศิลปกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นหลักฐานสําคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม
เศรษฐกิจ ความเชื่อ วิถีชีวิต
และความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี สง่างามตามแบบไทย (w.ศ.
๒๓๒๕ - พ.ศ.
๒๓๕๒)
สมัยรัชกาลที่ ๑
ทรงมีพระราชประสงค์ฟื้นฟูงานช่าง
และงานศิลปกรรมให้เหมือนกับเมื่อครั้งสมัยอยุธยาทรงรวบรวม
ช่างฝีมือจากหัวเมืองมารังสรรค์
ก่อร่างสร้างราชธานีแห่งใหม่
ด้วยเหตุนี้งานศิลป์ในยุคนี้จึงเป็นการสืบทอดฝีมือช่างจากสมัยอยุธยาหรือที่เรียกว่า
ศิลปะแบบไทยประเพณี ยุคทองของงานศิลป์
(พ.ศ. ๒๓๕๒ - พ.ศ.
๒๓๖๗) สมัยรัชกาลที่ ๒
บ้านเมืองเป็นปกติสุขปราศจากศึกสงครามถือเป็นโอกาสอันดีในการทํานุบํารุงและสร้างสรรค์
งานศิลป์ทั้งในด้านศิลปกรรม
วรรณกรรมดนตรีและนาฏศิลป์
ทําให้รัชสมัยของพระองค์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น
"ยุคทอง”
แห่งงานศิลปะไทย ช่างฝรั่งฝั่งสยาม
ชาวต่างชาติที่เข้ามาในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีบทบาทในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา
จนกระทั่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๕
ทรงจ้างช่างชาวต่างชาติเข้ามาอยู่ในกรมกองต่างๆ
เพื่อปรับปรุงประเทศ
ให้มีความสง่างามตามสมัยนิยม อาทิ
ช่างชาวเยอรมัน ชาวอังกฤษ และชาวอิตาเลียน
ซึ่งมีบทบาทสําคัญต่องานศิลป์ในสมัยนี้
การรับชาวต่างชาติเข้ามาปฏิบัติราชการในช่วงสมัยรัชกาลที่
๕ ทําให้เกิดการแลกรับ ปรับเปลี่ยน
ระหว่างช่างไทยและช่างชาวตะวันตก
เป็นอย่างยิ่ง
นอกจากช่างชาวอิตาเลียนที่เข้ามามีบทบาท
สําคัญในการรังสรรค์รูปแบบงานสถาปัตยกรรมแล้ว
ในสมัยนี้ยังมีช่างชาวเยอรมันและช่างชาว
อังกฤษที่มีบทบาทสําคัญด้วยเช่นกัน
ทําให้เกิดการศึกษาค้นคว้างานช่างกันอย่างกว้างขวาง ราชสํานักศูนย์กลางการอุปถัมภ์งานช่าง
การอุปถัมภ์จากราชสํานักผ่านการสร้างวัด
วัง
ทําให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาช่างไทยในอดีตจนเมื่อเปิดรับอิทธิพลชาติจากตะวันตก
จึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านจิตรกรรม
ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม
นับเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้อย่างลงตัว ห้องทัศนาการสืบสาน ทัศนศิลป์แห่งราชสํานัก ผสานงานศิลป์จากแดนไกล
(พ.ศ. ๒๓๖๗ -พ.ศ.
๒๓๙๔)
สมัยรัชกาลที่ ๓
ความสัมพันธ์ทางการค้าและการทูตระหว่างสยามกับจีน
ก่อให้เกิดการผสมผสานด้าน
ศิลปวัฒนธรรมถือเป็นพระราชนิยมใหม่ในราชสํานัก
ส่งผลให้เกิดกระแสความนิยมงานศิลปะจีนในหมู่ชนชั้นสูง
ดังเห็นได้จากการนําเข้าประติมากรรม
และเครื่องประกอบศิลป์แบบจีนอย่างแพร่หลายในศาสนสถาน แรกเริ่มเปิดรับตะวันตก
(พ.ศ. ๒๓๙๔- พ.ศ.
๒๔๑๑)
สมัยรัชกาลที่ ๔
จานศิลป์เริ่มเปิดรับแนวคิดจากตะวันตก
ดังเห็นได้จากรูปแบบการก่อสร้างของพระนครคีรี
อันเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยุคแรกในเมืองไทย
ส่วนพุทธศิลป์ก็เริ่มปรากฏงานจิตรกรรมแบบแสดง
ปริมาตรใกล้ไกลของขรัวอินโข่งถือเป็นจุดเปลี่ยนแห่งการผสมผสานงานศิลป์ สยามศิวิไลซ์ (พ.ศ.
๒๔๑๑-พ.ศ.
๒๔๕๓)
สมัยรัชกาลที่ ๕
ทรงมีพระราชประสงค์พัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ
หนึ่งใน
พระราชกุศโลบายสําคัญคือการสร้างพระะราชวังและสถานที่ราชการให้มีความสง่างามตามสมัย
จึงปรากฏ
งานศิลป์อย่างตะวันตกที่ผสมผสานเข้าวิถีชีวิตแบบไทย ศิลปะไทยประยุกต์
(พ.ศ.๒๔๕๓ -
พ.ศ.๒๔๖๔)
สมัยรัชกาลที่
๖
งานศิลป์มีทั้งแบบตะวันตกและจารีตประเพณี
ซึ่งเป็นการผสมผสานเอกลักษณ์ความเป็น
ชาติไทยตามพระราชนิยม
ขณะเดียวกันก็ทรงอุปถัมภ์งานศิลปกรรมโดยการรวมเอางานประณีตศิลป์จาก
ต่างหน่วยงาน จัดตั้งเป็นกรมมหรสพ
(กรมศิลปากรในปัจจุบัน)
ตลอดจนจัดตั้งโรงเรียนเพาะช้าง สถานศึกษา
ด้านศิลปะขึ้นเป็นครั้งแรก เรียบง่าย
สไตล์โมเดิร์น (พ.ศ.๒๔๖๘ -
พ.ศ.๒๔๗๗)
สมัยรัชกาลที่ ๗
ถือเป็นช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านของประเทศทั้มาางด้านเศรษฐกิจ
การเมือง และสภาพสังคม
งานศิลป์ในยุคนี้จึงมีความเรียบฉายที่เรียกว่า
โมเดิร์น
ซึ่งคํานึงถึงประโยชน์ใช้ส่วยเป็นหลักตลอดจนการ
ทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมที่มีอยู่ให้งดงามตามเดิม ศิลปะคณะราษฎร์(พ.ศ.
๒๔๗๗ - พ.ศ.
๒๔๘๙)
สมัยรัชกาลที่
8
งานศิลป์ที่สร้างขึ้นในสมัยนี้เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดของ
“ความเสมอภาค” จึงสืบทอดงาน
แบบโมเดิร์นมาเป็นภาพสะท้อนของแนวคิดดังกล่าวเป็นศิลปะที่แฝงนัยทางการเมืองโดยมีวัตถุประสงค์หลัก
คือ สร้างความชอบธรรม
ให้กับการปกครองระบอบใหม่ และ
สร้างอุดมการณ์ชาตินิยม ร่วมสมัยไทยเดิม (พ.ศ.
๒๔๙๘ - พ.ศ.
๒๕๕๙)
ศิลปกรรมตามแนวพระราชดําริในสมัยรัชกาลที่
๙
เป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนางานศิลป์ด้วยการนําเอารูปแบบงานไทยประเพณีมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ
และปรับปรุงให้มีความทันสมัย
ทั้งในเรื่องของเทคนิควัสดุ
ตลอดจนแนวคิดสร้างสรรค์แบบใหม่
ทําให้เกิดงานที่เรียกว่า
“ศิลปะไทยร่วมสมัย” ห้องทัศนาสถาปัตยกรรม ทัศนาฝายใน
สวนสุนันทา
“ไม่มีที่สงัดชิงจะเที่ยวเล่นแต่ลําพังได
เราควรจะมีสวนข้างในซึ่งเที่ยวได้ตามลําพัง
มาคิดดูครอบครัวเรามันมีแต่จะน้อยลงไปทุกที
นานเข้าคงแยกย้ายกันไป
กําแพงที่คิดจะกันต่อออกไปที่สวนสุนันทาเลิกเสียดีกว่า
ถ้าไปเลิกภายหลังจะเข้าแปลนกันยาก
ด้านเหนือจะเป็นซอกเขาที่ทั้งร้างเปล่าแก้ขยายเสียเวลานี้ยังมีเวลา
ที่จะขยับขยายได้
เพราะลงมือปักทางข้างใต้ไปก่อน" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสสังความ
มายังเจ้าwระยายมราช (ปั้น สุขุม)
หลังจากเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ พ.ศ.
๒๔๔๙
“สวนสุนันทาในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๒
– ๒๔๗๕
อันเป็นยุคที่พระราชวงศ์ฝายในรัชกาลที่ ๕
ประทับอยู่นั้น
เป็นสถานที่สวยงามน่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง
ตอนกลางบริเวณ กว้างใหญ่ไพศาลนั้น
เป็นสระใหญ่ประกอบด้วย
คูคลองซึ่งมีลักษณะคดเคียว
เหมือนสระและกูเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
มีเกาะแก่งและโขดเป็นเนินดินน้อยใหญ่
ซึ่งร่มรื่น
ด้วยเงาพฤกษานานาชนิด ม.ร.ว. แสงสูรย์
ลดาวัลย น้องชายต่างมารดา
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ
ลดาวัลย์ ภาพสระน้ำในสวนสุนันทา The
pond inside Suan Sunandha
palace.
มีตําหนักอันเป็นที่ประทับของพระมเหสี
พระราชธิดาและบาทบริจาริกาใหญ่น้อยเรียงรายอยู่บนพื้นที่ราบบนโขดเป็นเนินดิน
และริมฝั่งคูคลอง แต่ละตําหนักต่างก็
ทําสวนและปลูกไม้ดอกนานาชนิดอย่างงดงามเป็นที่เจริญตายิ่งนัก ม.ร.ว. แสงสูรย์
ลดาวัลย์
น้องชายต่างมารดาเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ
ลดาวัลย์ สวนสุนันทา
สวนในวัง
สวนสุนันทา
พื้นที่ด้านตะวันตกของพระราชวังดุสิต
สร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อใช้เป็นที่ทรงสำราญพระราชอิริยาบถแห่งใหม่
และเตรียมไว้สำหรับเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน
เมื่อล่วงแผ่นดินของพระองค์ไปแล้ว
ในสมัยรัชกาลที่ ๖
ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างสวนสุนันทาตามพระราชประสงค์ที่พระบรมราชชนกทรงดำริไว้จนเสร็จแล้วสิ้น
จัดเป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดา
และเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕
ถือเป็นสำนักฝ่ายในยุคสุดท้ายก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. ๒๔๗๕ ช่างไทยช่างฝรั่งในสวนสุนันทา
สวนสุนันทา
ได้รับการออกแบบโดย Mr. A. Rigassi
สถาปนิคชาวอิตาเลียน โดยมีเจ้าพระยายมราช
(ปัน สุขุม) เป็นผู้อํานวยการก่อสร้าง
และพระยาประชากร วิจารณ์ (โอ อมาตยกุล)
เป็นผู้ควบคุมงาน มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๒๒
ไร่ ตกแต่งเป็นโขดเขาคูคลอง สวนพฤกษชาติ
และตําหนักเรียงรายรอบสระน้ำขนาดใหญ่ อาคารจุฑารัตนาภรณ์ :
ดุริยศิลป์ อาคารอาทรทิพยนิวาสน์ :
ทัศนศิลป์ อาคารเอื้อนอาชว์แถมถวัลย์ สวนสุนันทา
ประกอบด้วยตําหนักและเรือนขนาดต่างกัน
ตามแต่พระอิสริยยศและจํานวนผู้เสด็จมาประทับหรือพํานัก
แบ่งเป็น ตําหนักขนาดใหญ่ ตําหนัก
ขนาดกลาง ตําหนักขนาดเล็ก และเรือนเจ้าจอม
ซึ่งมีการจัดการทางภูมิสถาปัตย์ที่งดงาม
และผสมผสานความเป็นตะวันออกกับตะวันตกได้อย่างลงตัว
ตําหนักขนาดเล็กที่ยังคงสง่างามอยู่ในสวนสุนันทา
ตั้งเรียงโกล้ชิดติดกัน ๓ ตําหนัก
ดังความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นใน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
จุฑารัตนราชกุมารี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
และเจ้าจอมเลือนกับเจ้าจอมแถม ในรัชกาลที่
๕ ปัจจุบันคือแหล่งการเรียนรู้ ๓
ศิลป์รัตนโกสินทร์ พระที่นั่งนงคราญสโมสร ก่อสร้างล้าสมัย
ณ
พระที่นั่งนงคราญสโมสร
พระที่นั่งนงคราญสโมสร
เดิมเตรียมไว้สร้างพระตําหนักของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
แต่เนื่องจากเสด็จไปประทับ ณ
พระราชวังพญาไท
จึงเปลี่ยนพื้นที่เป็นท้องพระโรงส่วนกลาง
สําหรับใช้ในการบําเพ็ญพระกุศล
หรือจัดงานรื่นเริงตามพระอัธยาศัย
ลักษณะเป็นโครงสร้างแบบกําแพงรับน้ําหนัก
(Wall bearing)
โครงหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กแบบโครงสร้าง
Shell เป็นรูปโค้ง (arch) และระเบียง
(Gallery)
ระหว่างเสาผนังโค้งเขียนรูปสีแบบปูนเปียก
(Fresco)
นับเป็นอาคารยุคแรกในประเทศไทยที่นําระบบการก่อสร้างในลักษณะนี้มาปรับใช้ ทัศนาฝายใน
พระบรมมหาราชวัง
เขตพระราชฐานชั้นใน
ในอดีตเคยเป็นที่ประทับของพระมเหสี
พระราชธิดา
ตลอดจนพระสนมกํานัลในพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ
ในสมัยรัชกาลที่ ๕
เนื่องจากมีเจ้านายฝ่ายในเป็นจํานวนมาก
จึงโปรดเกล้าฯ
ให้ปรับเปลี่ยนตําหนักที่ประทับเดิม
โดยทรงนําแบบอย่างงานศิลป์ของตะวันตก
มาปรับใช้
รูปแบบสถาปัตยกรรมจึงแปรผันไปตามภูมิหลังของช่างเหล่านั้นด้วย พระตําหนักสวนหงส์ (รูปซ้าย) พระตําหนัก
พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ (รูปขวา) ทัศนาฝายใน
พระราชวังดุสิต
พระราชวังดุสิต
สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อใช้เป็นที่ทรงสําราญ พระราชอิริยาบถ
เนื่องจากภายในพระบรมหาราชวัง
หมู่พระที่นั่งบดบังทิศทางลม
เมื่อพระองค์เสด็จ มาประทับ ณ
พระราชวังดุสิตเป็นการถาวร จึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างหมู่ตําหนักและเรือนในพื้นที่ด้านตะวันตก
ตัดพื้นที่เป็นสวน มีคูคลองอันงดงาม
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียน
โดดเด่นด้วยลายไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง ศิลปวิทยาการ
ศาสตร์แห่งกุลสตรี
สถานศึกษาแต่เดิมของสตรีนั้น
คือในพระบรมหาราชวัง
การศึกษาของสตรีในพระบรมมหาราชวัง
แตกต่างกันตามฐานะ
และโอกาสผู้ปกครองจะต้องหาสํานักหลักแหล่ง
ฝากกับผู้ใหญ่
แห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งเป็นญาติหรือเคยนับถือกันมาแต่ก่อนแล้วส่ง
ธิดาเข้าไปอยู่กับผู้เป็นเจ้าสํานักตั้งแต่ยังเป็นเด็ก กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทัศนางานศิลป์
ในราชสํานักฝ่ายใน
ราชสํานักฝ่ายใน
ศูนย์กลางของวงสังคมสตรีชั้นสูง
อันเป็นแห่งอบรมบ่มเพาะของกุลสตรีให้มีความเจริญ
เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะและความสามารถในทุกด้านโดยเฉพาะงานประณีตศิลป์ที่ได้รับการกล่าวขาน
ว่าเป็นสุดยอดของงานไทย งานประดิษฐ์ดอกไม้
งานประดิษฐ์ดอกไม้
นับเป็นงานศิลป์ชั้นสําแดงฝีมือของสตรีชาววัง
ซึ่งปรากฏว่ามีเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ที่มีพระปรีชาสามารถ
อาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสมอรัตนสิริเชษฐ์
ทรงดัดแปลงงานดอกไม้รูปแบบใหม่เสมอ
พระวิมาดาเธอฯ ทรงมีพระนามเลื่องลือ
ในงานร้อยตาข่ายดอกไม้
และเจ้าคุณพระประยูรวงศ์
ที่ได้รับการกล่าวขานถึงความสามารถ
ในการร้อยมาลัยได้อย่างงดงามแปลกตา งานเย็บ ปัก ถัก
ร้อย
งานเย็บ ปัก ถัก
ร้อย ของราชสํานักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์
พัฒนาขึ้นอย่างสูงสุดจนมีลวดลายงดงาม
ละเอียดประณีต และวิจิตรพิสดาร อย่างมาก
เริ่มแรกเกิดขึ้นเพื่อประดับพัสตราภรณ์
กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕
จึงเกิดการผสมผสานงานศิลป์ ที่หลากหลาย
ดังเห็นได้จากการส่งข้าหลวงในตําหนัก
พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถไปศึกษาวิชาการเรือนและการวาดเขียน
ในประเทศญี่ปุ่น และนําเทคนิค
มาปรับใช้กับงานไทยเดิม
จนเกิดรูปแบบการปักผ้าที่มีเอกลักษณ์จวบจนปัจจุบัน